เดินตามรอยเท้า "พ่อ" พ่อสอนเราให้เราพึ่งพาตนเอง ทำกินก่อน ถ้ามากก็เผื่อแผ่ ถ้าเหลือก็ขาย ใช้ชีวิตพอเพียง แค่นี้ก็สุขแล้ว อย่ารอใครทั้งสิ้น ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

ผู้ติดตาม

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิธีป้องป้องกันหนอนมวนใบข้าวระบาดแบบง่ายๆ

  ข้าว(1)วิธีป้องป้องกันหนอนมวนใบข้าวระบาดแบบง่ายๆควรหว่านข้าว15กก./ไร่
  ข้าว(2)พื้นที่โปร่งแสงแดดส่องได้ถึงอากาศถ่ายเทได้สะดวกช่วยลดปัญหา เรื่องโรค


หนอนม้วนใบข้าว หนอนกินใบข้าว ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนปีกสีน้ำตาล อ่อนมีแถบสีดำพาดที่ปลายปีก ตรงกลางปีกมีแถบสีน้ำตาลพาดขวาง 2-3 แถบ เมื่อ เกาะใบข้าวปีกจะหุบเป็นรูปสามเหลี่ยม มักเกาะอยู่ในที่ร่มใต้ใบข้าว ตัวเมีย วางไข่บนใบข้าว ขนานตามแนวเส้นใบและสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ไข่มีสีขาว ขุ่นค่อนข้างแบนเป็นกลุ่ม แต่บางครั้งก็วางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ระยะ ไข่ 4-6 วัน หนอนที่ฟักจากไข่ใหม่ๆมีสีขาวใส หัวมีสีน้ำตาลอ่อน หนอนโตเต็ม ที่มีสีเขียวแถบเหลือง หัวสีน้ำตาลเข้ม หนอนมี 5-6 ระยะ ส่วนใหญ่ มี 5 ระยะ หนอนวัยที่ 5 เป็นวัยที่กินใบข้าวได้มากที่สุด ระยะ หนอน 15-17 วัน หนอนเข้าดักแด้ในใบข้าวที่ห่อตัวนั้น ระยะดักแด้ 4-8 วัน



การระบาดของหนอนม้วนใบข้าวนี้จะมีอยู่หลายช่วงด้วยกัน หนอนม้วนใบข้าวนี้จะระบาดในช่วงหลังการให้ปุ๋ยของเรา ใครให้ 2 ครั้ง ก็ระบาด 2 ครั้ง ใครให้ 3 ครั้งก็จะระบาด 3 ครั้งครับ โดยการเข้าทำลายจะเข้าในช่วงที่เราให้ปุ๋ยลงไปในแปลงประมาณ 3 วัน ก็คือช่วงนี้เป็นช่วงที่ข้าวตอบสนองปุ๋ย ใบเริ่มเขียว อวบ ปกคลุมพื้นที่แปลงปลูก ทำให้สภาพพื้นที่ในแปลงปลูกมีอุณหภูมิและความร้อนพอเหมาะแม่ผีเสื้อหนอนม้วน ใบข้าวมาวางไข่ (ไม่ใช่เฉพาะหนอนนะครับ รวมถึงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ระบาดอยู่ในหลายเดือนที่แล้วจนทำให้เกษตรกร ชาวนาต้องเว้นวรรคการปลูกข้าวในช่วงที่ผ่านมา) และกลายเป็นหนอนมาม้วนใบข้าวจนขาวโพลนไปทั้งแปลง และทำให้ผลผลิตข้าวเสียหายในช่วงข้าวออกรวง
วิธีการป้องกันและกำจัดอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดต้นทุนแบบปลอดสารพิษ ซึ่งมีวิธีการป้องกันและกำจัดดังนี้
1. หว่านข้าวปลูกในอัตราไร่ละ 10-15 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งการหว่านข้าวบางดังกล่าวทำให้พื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะกับการขยายพันธุ์ ของแมลงศัตรูข้าวทุกชนิด แสงแดดส่องได้ถึง อากาศถ่ายเทได้สะดวก จะช่วยลดปัญหาเรื่องโรคแมลงและเชื้อราของข้าวได้ดี
2. มีการจับตรึงปุ๋ยด้วยภูไมท์, ภูไมท์ซัลเฟต หรือไคลน็อพติโลไลท์ เพื่อให้เป็นปุ๋ยละลายช้า ค่อย ๆ คายปุ๋ยให้ข้าวใช้ไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้ข้าวไม่เฝือใบ และต้นข้าวยังได้รับซิลิก้าหรือซิลิคอนจากเนื้อภูไมท์, ภูไมท์ซัลเฟต และไคลน็อพติโลไลท์ ทำให้ทุกส่วนของต้นข้าวมีความแข็งแกร่ง ใบตั้งตรง สู้แสง แมลงและเชื้อราเข้าทำลายได้ยาก
3. เมื่อมีการระบาดให้ฉีดพ่นด้วยเชื้อจุลินทรีย์ทริปโตฝาจ ในอัตรา 50 กรัม, ไทเกอร์เฮิร์บ 50 กรัม, ม้อยเจอร์แพล้นท์ 20 ซีซี. ผสมในน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ชุ่มโชก ซึ่งจุดประสงค์ในการใช้เชื้อจุลินทรีย์ทริปโตฝาจและไทเกอร์เฮิร์บนั้นเพื่อ กำจัดและป้องกันการเข้ามาวางไข่ของแม่ผีเสื้อหนอนม้วนใบข้าว โดยเฉพาะกลิ่นของสมุนไพรไทเกอร์เฮิร์บจะมีกลิ่นที่รุนแรง บวกกับเชื้อจุลินทรีย์ทริปโตฝาจซึ่งประกอบด้วยเชื้อราที่เป็นอันตรายกับแมลง ศัตรูข้าว ซึ่งธรรมชาติของแมลงต่าง ๆ ในพื้นพิภพเมื่อสภาพพื้นที่ไม่เหมาะที่จะวางไข่พวกนี้เขาก็จะไม่วาง หากไม่เลือกที่วางไข่ ไข่ไปทั่ว เหมาะหรือไม่เหมาะก็จะวางถ้าในทางขำขันเราเรียกกันว่า “อั้นไม่อยู่” หากเป็นเช่นนี้หนอนม้วนใบข้าวอาจจะไม่มีให้เราเห็นและกวนใจเกษตรกรชาวนา เหมือนทุกวันนี้ เพราะ “สูญพันธุ์” ไปนานแล้วครับ
วิธีการดังกล่าวข้างต้นหากเกษตรกรปฏิบัติตามก็จะช่วยลดปัญหาแมลงศัตรูโรค ข้าวได้มากพอสมควรเลยทีเดียว และที่สำคัญลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรได้มากพอสมควร

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น