เดินตามรอยเท้า "พ่อ" พ่อสอนเราให้เราพึ่งพาตนเอง ทำกินก่อน ถ้ามากก็เผื่อแผ่ ถ้าเหลือก็ขาย ใช้ชีวิตพอเพียง แค่นี้ก็สุขแล้ว อย่ารอใครทั้งสิ้น ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

ผู้ติดตาม

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

เตาเผาถ่านไม้ 200 ลิตร(ทุน 500 บาท)

การเผาถ่านในครัวเรือนเพื่อให้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงและประโยชน์ภายในครัว เรือนเป็นองค์ความรู้ที่สามารถทำให้เกิดการพึ่งพาตนเอง   ลดรายจ่ายภายใน ครัวเรือน  ถ่านที่ได้มีคุณภาพสูงเป็นผลดีต่อสุขภาพ  เมื่อเหลือใช้ภายใน ครอบครัวแล้วสามารถนำออกไปขายสู่ตลาดเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน   รวม ทั้งผลิตภัณฑ์ที่ได้จาการเผาถ่านเรียกว่าน้ำส้มควันไม้หรือน้ำวูด้เวเนการ์ ที่มีคุณสมบัติการใช้ประโยชน์ประมาณ  150 อย่าง  ที่สำคัญนำไปใช้ประโยชน์ใน เชิงเกษตรธรรมชาติเพื่อใช้ป้องกันและกำจัดศัตรูได้ทางหนึ่งด้วย


 
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำเตาเผาถ่านไม้ :

1. ถังขนาด 200 ลิตร ( ถังน้ำมันหรือถังเหล็ก) ราคาไม่เกิน 500 บาท

2. ท่อซีเมนต์ใยหิน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 1 เมตร

3.ข้องอ ขนาด 90 องศา เส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับท่อซีเมนต์ใยหิน

4.อิฐบล็อก จำนวน 4-5 ก้อน

5. เสาไม้ค้ำยัน 8 ท่อน เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว ยาว 120 เซนติเมตร

6. เศษกระเบื้อง สังกะสี เพื่อกักดิน ด้านข้าง ด้นหน้าและด้านหลัง

7.ดินเหนียวหรือดินทราย เพื่อเป็นฉนวนกันความร้อน

8. กระบอกไม้ไผ่สำหรับเก็บน้ำส้มควันไม้

9. ไม้ที่นำมาเผาถ่าน ต้องเป็นไม้ที่ตัดมาแล้ว 2 อาทิตย์ หรือมากกว่าเพื่อให้แห้งหมาด เพื่อให้ได้ถ่านที่มีคูณภาพสูงไม้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 2 ปี ขนาดโตไม่ควรเกิน 2 นิ้ว ยาวประมาณ 80 เซนติเมตร



ขั้นตอนและวิธีการทำ :

1.การเลือกสถานที่ก่อสร้างเตา ในทุกภาคเน้นการสร้างบนพื้นที่ดอน เมื่อฝนตกแล้วน้ำไม่ท่วม และควรเป็นพื้นที่อยู่ห่างไกลจากบ้านอย่างน้อยประมาณ 50 เมตร และควรสร้างให้อยู่ใกล้กับแหล่งไม้ที่สามารถจัดหาได้ง่าย

2.การติดตั้งเตาเผาถ่าน ในทุกภูมิภาคจะตอกเสาค้ำยันที่พื้นเป็นสี่มุม ขนาด 80x80 เซนติเมตร ตอกเป็นหลักห่างด้านข้างเตา ประมาณ 250 เซนติเมตร

3.นำถัง 200 ลิตร มาเจาะขอบถังให้ฝาถังเปิดได้แล้วทำการเจาะรูข้างหน้า 20x20 เซนติเมตร ส่วนก้นถังเจาะรูวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 4 นิ้ว สำหรับใส่ข้องอ

4.ตั้งเตาให้ด้านหน้าถังแหวนขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้ระบายน้ำออก ด้านหลังยังไม่ต้องปิด แล้วเทดินเหนียวประคองด้านข้างเตาพอประมาณเพื่อไม่ให้เตาขยับเขยื้อน

5.ประกอบข้องอใยหิน 90 องศา โดนชยให้ด้านที่ใหญ่ที่สุดสวมเข้าไปในช่องที่เจาะไว้ในด้านท้ายของตังเตา และสวมท่อตรงใยหินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเดียวกันกับข้องอที่ประกอบไว้ท้ายเตา

6.ประสานรอยต่อระหว่างตัวเตา ข้องอฉาก 90 องศา และท่อตรง ซึ่งเป็นปล่องควันให้สนิทเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยรั่วขณะเผาถ่าน

7.ปิดผนังเตาด้านหลัง โดยให้ผนังเตาด้านหลังห่างจากข้องอประมาณ 10-15 เซนติเมตร

8.นำดินเหนียวประสารรอยรั่วให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปข้างในและป้องกันไม่ให้เกิดการลุกติดไฟ

9.นำดินเหนียวหรือดินทรายที่เตรียมไว้เทลงให้เต็มด้านข้างและด้านหลังในช่อง ว่างระหว่างเตากับผนังเตาด้านหลังพอประมาณทั้ง 3 ด้าน เพื่อเป็นฉนวนกันไฟให้กับตัวเตา และไม่ให้ความร้อนระเหยออกไป โดยเว้นช่องฝาหน้าเตาเอาไว้เพื่อปิด/เปิด

10.นำกระเบื้องหรือสังกะสีหรือแผ่นไม้เก่ามากั้นดินด้านหน้าและด้านหลังพร้อมทั้งปิดเสาค้ำยันด้านละ 2 ท่อน

11.ตัดไม้เพื่อนำเป็นหมอนหนุนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 นิ้ว ยาว 20-25 เซนติเมตร จำนวน 3 ท่อน วางขวางด้านล่างของตัวเตา โดยมีระยะห่างเท่ากัน เพื่อให้มีการไหลเวียนของลมร้อนภายในเตา

12.การคัดเลือกไม้เข้าเตาถ่าน จะมีการจัดแยกกลุ่มของขนาดไม้เป็น 3 กลุ่ม คือขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยเรียงไม้ขนาดเล็กไว้ด้านล่างของเตา ทับไม้หมอนไว้ไม้ท่อนใหญ่ไว้ด้านบน เนื่องจากอุณหภูมิในเตาขณะเผาถ่านไม่เท่ากัน โดยอุณหภูมิด้านล่างสุดของเตาจะต่ำ และอุณหภูมิด้านบนจะสูงกว่าอุณหภูมิท้ายเตา

13.เมื่อเรียงไม้เสร็จแล้วให้ปิดฝาเตาถังด้านหน้า โดยให้ช่องที่เจาะไว้อยู่ด้านล่างของตัวเตาถัง แล้วนำดินมาประสานขอบถังและฝาถัง เพื่อไม่ให้อากาศเข้าไปในถัง เพราะถ้าอากาศเข้าไปในเตาถังจะทำให้ถ่านไหม้จนหมด

14.นำอิฐบล็อกวางตั้งตามแนวยาวบนพื้นหน้าเตาขนาบสองข้างๆฃละ 1 ก้อนเว้นระยะให้พอดีกับช่องที่เจาะเอาไว้บนฝาหน้าเตา

15.นำอิฐบล็อกอีก 2 ก้อน วางทับด้านบนของอิฐที่ตั้งไว้ โดยวางต่อกันในแนวราย และนำดินเหนียวที่เตรียมไว้มาประสานรอยต่อระหว่างฝาหน้าเตากับอิฐบล็อกและ รอยต่อระหว่างอิฐบล็อกทั้ง 4 ก้อน เพื่อไม่ให้เกิดรอยรั่ว

16.การเข้าสู่ขั้นตอนการเผาถ่าน จะเริ่มจุดไฟหน้าเตาเพื่อให้ความร้อนแก่เตาโดยจุดบริเวณช่องจุดไฟที่อิฐก้อน แรก โดยเชื้อเพลิงที่นำมาจุดไฟควรเป็นเชื้อเพลิงแห้ง เช่น เศษ ไม้ เศษหญ้า หรือวัสดุอื่นที่จุดไฟติดได้ หรือใช้วัสดุที่มีส่วนประกอบของสารสังเคราะห์ เช่น พลาสติก หรือโฟม เป็นต้น

17.ใส่เชื้อเพลิงทีละน้อยเพื่อความร้อนจะกระจายเข้าไปในเตาเพื่อไล่อากาศเย็นและความชื้นที่อยู่ในเตา โดยใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง

18.เมื่อไล่ความชื้นในเตาแล้วอุณหภูมิจะสูงขึ้นจนทำให้เนื้อไม้ในเตารักษา อุณหภูมิภายในได้เอง โดยไม่ต้องใส่เชื้อเพลิงเข้าไปอีก โดยสังเกตจากควันที่ออกมาจากปล่องด้านหลังจะพุ่งแรงกว่าปกติ เรียกว่า “ควันบ้า” มีสีขาวขุ่น ช่วงนี้สามารถหรี่ไฟหน้าเตาลงได้ครึ่งหนึ่ง

19.หลังจากนั้น ประมาณ 1 ชั่วโมง หรือสังเกตสีควันที่ปากปล่อง ถ้าเป็นสีขาวอมเหลืองและมีกลิ่นฉุนแสบจมูก ให้หรี่ไฟลงอีก ช่างนี้เริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้ โดยใช้ท่อไม้ไผ่ที่เจาะรูไว้ตลอดทั้งลำ โดยนำขวดน้ำผูกลวดแขวนรองน้ำส้มควันไม้ตรงจุดที่เจาะรูไว้ จะสามารถเก็บน้ำส้มควันไม้ได้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง เมื่อน้ำที่หยดมามีลักษณะเป็นยางเหนียวและมีสีดำให้หยุดเก็บ

20.การทำถ่านให้บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นการทำอุณหภูมิในเตาให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็วสังเกตต่อจนกระทั่งควัน ที่ปากปล่องกลายเป็นสีฟ้าให้เริ่มเปิดหน้าเตา เพื่อให้อากาศร้อนเข้าไปไล่สารตกค้างหรือแก๊สที่ค้างในเตา โดยเปิดหน้าเตาออกประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ หรือ 1 ใน 36 ของพื้นที่ หน้าเตาทั้งหมด สังเกตสีของควัน ถ้ามีสีฟ้าใสแสดงว่าไม้ทั้งหมดกลายเป็นถ่านไม้ทั้งหมด
ให้ปิดหน้าเตาให้สนิท เอาดินเหนียวประสานรอยต่อให้สนิท เกลี่ยดินบนเตาออกให้เห็นหลังเตาเป็นการระบายความร้อน โดยทิ้งไว้ 1 คืน หรือ 8 ชั่วโมง ก็จะสามารถนำถ่านออกมาใช้ได้

21.ผลผลิตถ่านที่ได้จากเตาถัง 200 ลิตร ประมาณ 20-22 กก. มีคุณภาพสูง และเตาเผาสามารถเผาได้ประมาณ 100-150 ครั้ง หรือประมาณ 2-3 ปี (ขึ้นอยู่กับความถี่ของการใช้งาน) โดยนำถ่านที่ได้ใส่ถุงหรือกระสอบ แล้วนำไปเก็บที่ไม่มีความชื้น ไม่มีความร้อนสูงเกินไป รวมทั้ง ไม่มีแสงแดดส่อง หรืออากาศถ่ายเทสะดวก นอกจากนี้ ได้นำส้มควันไม้เป็นผลพลอยได้ เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช



การใช้ประโยชน์จากเตาเผาถ่านและถ่านไม้ :

1.เตาถ่าน 200 ลิตร จะมีประสิทธิภาพดีกว่าเตาหลุมทั่วไป เนื่องจากสามารถควบคุมอุณหภูมิได้

2.การลงทุนเรื่องวัสดุอุปกรณ์เพียงจำนวนน้อย ใช้เงินลงทุนไม่ถึง 500 บาท โดยสามารถหาอุปกรณ์ได้ในท้องถิ่น

3.เตาเผาถ่านขนาด 200 ลิตร ใช้เวลาขั้นตอนกระบวนการผลิตทั้งสิ้นเพียง 16 ชั่วโมง ก็สามารถเก็บถ่านได้

4.ไม้ที่เผาในเตาถ่านขนาด 200 ลิตร จะไม่โดนไฟ ทำให้ไม่เสี่ยงต่อการที่ถ่านจะกลายเป็นขี้เถ้ามาก

5.สามารถนำถ่านที่ได้ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้มภายในครัวเรือนมีคุณภาพสูง ขี้เถ้า และถ้ามีหรือใช้สามารถผลิตถ่านเพื่อสร้างรายได้ เป็นธุรกิจการค้าได้

6.ใช้กำจัดกลิ่นภายในครัวเรือน เช่น ตู้เย็น ตู้กับข้าว และกำจัดรังสีที่เป็นอันตรายจากคอมพิวเตอร์ได้ดี รวมทั้ง ทำสบู่ถ่าน

7.ใช้ดูดสารพิษในข้าว ล้างผักโดยบดถ่านให้ละเอียดเป็นผงผสมกับน้ำและใช้ดูดสารพิษในร่างกายโดยบด เป็นผงละเอียดผสมกับน้ำคนให้เข้ากันแล้วดื่มเพื่อดูดวับพิษในร่างกาย



-------------------------------------- @ ^ - ^ @ -----------------------------------------

ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.ระยอง
   

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น