เดินตามรอยเท้า "พ่อ" พ่อสอนเราให้เราพึ่งพาตนเอง ทำกินก่อน ถ้ามากก็เผื่อแผ่ ถ้าเหลือก็ขาย ใช้ชีวิตพอเพียง แค่นี้ก็สุขแล้ว อย่ารอใครทั้งสิ้น ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

ผู้ติดตาม

วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เตือนภัย !?!......ระวังหนอนกระทู้คอรวงระบาดหลังน้ำลด

เตือนภัย !?!......ระวังหนอนกระทู้คอรวงระบาดหลังน้ำลด 
ระยะนี้สถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่นาข้าวก้าลังเกิดขึ้นในทุกภาคของประเทศ ซึ่งเกิดจากน้ำป่าไหลหลากไหลเข้าท่วม ท้าให้ผลผลิตในนาข้าวได้รับความเสียหาย ขอให้ยังเกษตรกรเตรียมรับมือกับโรคและแมลงศัตรูข้าวที่จะมาหลังจากน้ำลด โดยให้เกษตรกรเฝ้าระวังหนอนกระทู้คอรวง ซึ่งชอบกัดกินส่วนคอรวงข้าวที่ก้าลังจะสุก ทำให้คอรวงขาด สามารถทำลายรวงข้าวได้มากถึง 80 เปอร์เซนต์







      หนอนกระทู้คอรวง Mythimna separata (Walker) ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลอ่อน แทรกสีน้ำตาลแดง ปีกกว้างประมาณ 4.5-5 เซนติเมตร วางไข่เป็นกลุ่มตามกาบใบและลำต้นหรือฐานของใบที่ม้วน ไข่ไม่มีขนปกคลุม วางไข่เป็นกลุ่มๆละประมาณ 100 ฟอง ระยะไข่นาน 6-8 วัน หนอนที่ฟักออกใหม่กัดกินใบหญ้าอ่อนจนอายุประมาณ 15 วัน จึงเริ่มกัดกินใบและรวงข้าว ระยะหนอนประมาณ 25-30 วัน หนอนมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว้างประมาณ 3.5-4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 2.8 มิลลิเมตร ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน หนอนเข้าดักแด้ที่โคนกอข้าวหรือตามรอแตกของดิน ดักแด้มีสีน้ำตาลแดง ระยะดักแด้ 10-12 วัน 

ลักษณะการทำลายของหนอนกระทู้คอรวง จะคล้ายหนอนกระทู้กล้า มักเข้าทำลายต้นข้าวช่วงกลางคืนหรือตอนพลบค่ำถึงเช้าตรู่ กลางวันอาศัยตามใบหรือโคนต้นข้าวหรือวัชพืชตระกูลหญ้า โดยจะกัดกินต้นข้าวทุกวันจนกระทั่งเข้าระยะดักแด้ โดยเกษตรกรควรมีกาส้ารวจพื้นที่แปลงนาของตนเอง หากตรวจนับพบใบข้าวถูกทำลายกอหรือจุดละ 5 กอหรือ 5 รวงจากข้าว 20 กอหรือจุดสุ่มนับ ให้ใช้สารตามคำแนะนำ นอกจากนี้ควรเฝ้าระวังโรคขอบใบแห้ง ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ขอบใบจะแห้งและม้วนตามความยาว บางกรณีที่เชื้อมีปริมาณสูงเข้าทำลายทำให้ท่อน้ำท่ออาหารอุดตัน ต้นข้าวทั้งต้นจะเหี่ยวเฉาและตายโดยรวดเร็วเรียกอาการของโรคนี้ว่า “ครีเสก”

หากพบอาการของโรคบนใบข้าวให้ใช้สารป้องกันก้าจัดโรคพืช เสตร็พโตมัยซินซัลเฟต + ออกซีเตทตราไซคลินไฮโดรคลอร์ไรด์ หรือคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ หรือ ไอโซโพรไทโอเลน และเกษตรกรควรเลือกใช้พันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับพื้นที่ ส้าหรับพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังประจำ ในปีถัดไปแนะนำให้ใช้พันธุ์ข้าวทนน้ำลึก เช่น กข 19 หันตรา 60 ปราจีนบุรี 2 และพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำ เช่น พลายงามปราจีนบุรี เล็บมือนาง 111 ปิ่นแก้ว 56 และพื้นที่ที่มีการเก็บเกี่ยวไปแล้ว หลังน้ำลดให้เกษตรกรปรับสภาพพื้นที่โดยการไถกลบต้นข้าว เพื่อไม่ให้ลูกข้าวงอกขึ้นมาเป็นอาหารหรือแหล่งเพาะเชื้อของโรค แมลง ศัตรูข้าวที่จะขยายพันธุ์ต่อไป อย่างไรก็ตามเกษตรกรที่มีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ บริการชาวนา ส้านักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน




ข้อมูลจาก : กรมการข้าว 
ศราวุธ : ข่าว/ภาพ กลุ่มวิชาการและฝึกอบรม
สานักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดระยอง
ตุลาคม 2553 โทร. 0-3861-1578 โทรสาร. 0-3861-4529

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น